วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทฤษฎีพฤติกรรมภาวะผู้นำ







 การเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้นำตามภาวะผู้นำประเภทต่างๆ
ภาวะผู้นำแบบอัตตาธิปไตย
ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตย
ภาวะผู้นำแบบเสรีนิยม
-ผู้นำตัดสินใจเองแต่ผู้เดียว
-ผู้นำเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มในการตัดสินใจ
-ผู้นำมอบอำนาจให้กลุ่มตัดสินใจได้โดยเสรี
-กำหนดวิธีปฏิบัติงานเองแล้วจึงแจ้งให้สมาชิกกลุ่มปฏิบัติตาม
-อนุญาตให้กลุ่มเป็นผู้กำหนดวิธีปฏิบัติงาน
-ไม่เกี่ยวข้องในการกำหนดวิธีปฏิบัติงานแต่คอยดูแลอยู่ห่างๆ
-จำกัดการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กลุ่มกับ
-แจ้งให้กลุ่มทราบถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอาทิเป้าหมายขององค์การ
-ไม่ค่อยติดต่อสื่อสารกับกลุ่มแต่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเฉพาะเพื่อตอบข้อซักถาม
-ไม่ค่อยได้ให้ข้อมูลย้อนกลับยกเว้นกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานผิดพลาด
- ใช้ข้อมูลย้อนกลับเป็นโอกาสในการฝึกฝนสมาชิกกลุ่ม
-หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลย้อนกลับ


ที่มาจาก :
ชาญชัย  อาจินสมาจารย์. การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ดี จำกัด, 2541.
ธร  สุนทรายุทธ.  (มปป.)  หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา.  กรุงเทพมหานคร  : 
            เนติกุลการพิมพ์,  2539.

นิตยา  เงินประเสริฐศรี. ทฤษฎีองค์การ : แนวการศึกษาเชิงบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร.
                 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2540.

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการที่ข้าข้าพเจ้าเคยรับผิดชอบ และประสบความสำเร็จ

โครงการต้นกล้าอาชีพ
หลักสูตรการทำวิสาหกิจชุมชน

ผู้เสนอโครงการและร่วมการฝึกอบรม 
(๑) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ๑๑๑  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 
ถ.พหลโยธิน  ต.คลองหนึ่ง  อ.คลองหลวง  จ.ปทุมธานี  ๑๒๑๒๐
(๒) มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) ๔๖๙ ถ.นครสวรรค์ แขวงจิตรลดา  เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐๒๒๘๐๐๑๘๐ ต่อ ๓๓๑๕,๓๓๑๘ โทรสาร. ๐๒๒๘๑๘๘๑๐ E-mail : cei_thai@yahoo.com

เนื้อหาการฝึกอบรม   : – อบรมให้ปรับวิธีคิดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำแผนชีวิต แผนการเงิน แผนอาชีพ แผนสุขภาพ แล้วเรียนการทำวิสาหกิจชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชุมชน มีความมั่นคง ก่อเกิดรายได้ เช่น การทำการแปรรูปและจัดการข้าว  อาหาร สมุนไพร ของใช้ ปุ๋ย การบริหารจัดการที่ดี การจัดการทุน และการสร้างเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อวิสาหกิจชุมชน

สถานที่ฝึกอบรม   : –  ศูนย์เรียนรู้ที่กำหนดให้เป็นจุดฝึกอบรมของโครงการ คือ
(๑) ศูนย์เรียนรู้ชุมชน (ของ อปท. หรือสถานที่อื่นที่ อปท. จัดให้) หรือ
(๒) ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต

ระยะเวลาการฝึกอบรม   : –  ฝึกอบรมต่อเนื่องเป็นเวลา ๓๐ วัน ศูนย์ละ ๕๐ คน

วิทยากรผู้ทำหน้าที่ฝึกอบรม ณ ศูนย์เรียนรู้   : –  วิทยากรในชุมชนท้องถิ่น ศูนย์ละ ๒ คน ซึ่งผ่านการอบรมจาก สสวช.
โดยมีคุณสมบัติและได้รับค่าตอบแทนตามที่ สสวช. กำหนด

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม  : –
(๑)        เป็นผู้ว่างงาน (ไม่มีรายได้ประจำ) หรือสำเร็จการศึกษา ปี ๒๕๕๑ (จบภายในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒)
(๒)     ไม่จำกัดระดับการศึกษา และไม่จำกัดเพศ
(๓)      มีอายุ ๑๘-๖๐ ปี
(๔)      มีสัญชาติไทย

ค่าตอบแทนผู้เข้ารับการฝึกอบรม   : –  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับค่าตอบแทนตลอดระยะเวลาฝึกอบรม ๓๐ วัน ดังนี้
(๑)        เบี้ยเลี้ยง วันละ ๑๖๐ บาท
(๒)     ค่าพาหนะ วันละ ๓๐ บาท

การสมัคร   : –  ยื่นใบสมัครได้วิธีเดียว โดยการกรอกข้อมูลลงในใบสมัครออนไลน์ ทางเว็บไซต์ต้นกล้า-อาชีพดอทคอม www.tonkla-archeep.com โดยไม่ต้องส่งหลักฐานเอกสารใดๆ แต่จะต้องกรอกข้อมูลที่สำคัญเฉพาะตัวของผู้สมัคร
เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน  ที่อยู่ที่ติดต่อได้ การประกอบอาชีพ และได้กู้ยืมเงินทุนเพื่อการศึกษาหรือไม่ เป็นต้น


เงื่อนไขในการเปิดฝึกอบรม   : –   ปิดการฝึกอบรมเฉพาะศูนย์เรียนรู้ที่มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมครบ ๕๐ คนเท่านั้น
ผู้ประสานงาน   : –  คุณบุนยนุช ขวัญอยู่

      ***โครงการนี้ได้ดำเนินตั้งแต่ปี 2552- 2553 จนเสร็จสิ้นแล้ว เราเปิดทั้งหมด 6 รุ่น รุ่นละ  200 ศูนย์เรียนรู้  และพบศูนย์ที่ประสบความสำเร็จอยู่มาก ทั้งการพึ่งตนเอง การทำบัญชีครัวเรือน การสร้างอาชีพ รวมทั้งการรวมตัวกันของชุมชนเพื่อสร้างกลุ่มออมทรัพย์ หรือจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ต่างๆ ขึ้นในชุมชนอีกมากมายเช่นกัน***


การจัดอบรมอาจารย์ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ในศูนย์ต้นกล้าฯ

การจัดตั้งโรงเพาะเห็ดของกลุ่มที่จังหวัดชัยนาท

           
              ผลงานของกลุ่มชุมชนอุทัยเก่า จ.อุทัยธานี
นี่ก็เป็นผลผลิตของชุมชนอุทัยเก่า จ.อุทัยธานี

การจัดไปศึกษาดูงานของศูนย์เมืองหนองคาย ไปยังศูนย์ฝึกเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ จ.พะเยา

ภาพการเรียนการสอน และอธิบายสร้างความเข้าให้กับชุมชน

การเชิญวิทยาการเฉพาะทางมาสอนการทำอาหารคาว-หวาน เพื่อสร้างอาชีพ


ภาพการทำน้ำหมักของชาวบ้านที่ศูนย์เมืองเลย

ผลสำเร็จของการทำน้ำหมัก และแจกจ่ายให้กับทุกคน




วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการพัฒนา อบต./เทศบาล

โครงการพัฒนา อบต./เทศบาล
ให้เกิดระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง  ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


หลักการและเหตุผล
          ๑. ความอ่อนแอของสังคมไทยเป็นความอ่อนแอของฐานราก ของชุมชนท้องถิ่น เพราะการพัฒนาที่ผ่านมาพัฒนาจาก ข้างบน ด้วยเหตุนี้ชุมชนจำนวนมากจึงไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีปัญหาเศรษฐกิจ เป็นหนี้เป็นเป็นสิน การทำมาหากินในท้องถิ่นล้มเหลว ต้องย้ายถิ่นไปทำงานในเมืองและที่อื่นเพื่อความอยู่รอด
            ๒. กลไกที่เกิดใหม่อย่าง อบต. ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๖,๖๐๐ แห่ง และ เทศบาลประมาณ ๑,๒๐๐ แห่งก็อยู่ในขั้นของการพัฒนาตนเอง ที่ผ่านมายังเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ถ้ามีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมก็เป็นการพัฒนาอาชีพ ใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามกระบวนทัศน์เดียวกับในระดับชาติ คือ พัฒนาโครงการ (project-base development) มากกว่าการพัฒนาระบบ (systems development) ยังไม่เกิดระบบเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ยังเน้นการพัฒนา โครงการ ที่ผูกติดกับคำสั่งและงบประมาณ ทั้งชาวบ้านเองก็เคยชินกับการพัฒนาแนวนี้
            ๓. ชุมชนเข้มแข็งในประเทศไทยมีอยู่จำนวนไม่น้อย กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล รวมทั้งอบต. และเทศบาล ซึ่งมีฐานคิดและยุทธศาสตร์การพัฒนาของตนเอง ได้สั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้ที่มีการถ่ายทอดแบ่งปันให้กับคนอื่นตลอดมา เชื่อว่า ถ้าหากมีกระบวนการส่งเสริมความเข้มแข็งของท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายที่อบต.และเทศบาลด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ดี ทำให้ท้องถิ่นสามารถพัฒนายุทธศาสตร์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เชื่อแน่ว่าจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเองได้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์
            ๑. เพื่อประมวลประสบการณ์และองค์ความรู้ของชุมชนเข้มแข็ง อบต./เทศบาลเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาต้นแบบเสมือนจริงและนำไปประกอบการพัฒนาในอบต./เทศบาลตามเป้าหมาย
            ๒. เพื่อพัฒนาอบต./เทศบาลเข้มแข็ง โดยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเองโดยมีเป้าหมาย ๓๐๐ อบต./เทศบาลภายใน ๒ ปี
            ๓. เพื่อสร้างเครือข่ายอบต./เทศบาล และเสริมความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น โดยเน้นเครือข่ายการเรียนรู้ไปสู่เครือข่ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ
ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง
            การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นนั้นมีแนวทางสำคัญ ๓ ประการ คือ
            ๑. เพื่อให้เกิด ความพอประมาณ ต้อง สร้างคน ให้มีคุณธรรม ความพอดี พองาม ให้กินเป็น อยู่เป็น ใช้เป็น เป็นผู้นำที่ดีมีธรรมาภิบาล รู้จักขนาดที่พอเหมาะพอควรกับศักยภาพของตนเอง ของท้องถิ่น
            ๒. เพื่อให้เกิด ความมีเหตุผล ต้อง สร้างความรู้ สร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดชุมชนเรียนรู้ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมความรู้แทนวัฒนธรรมอุปถัมภ์ ทำให้คนคิดได้ ตัดสินใจได้ เลือกได้ มีความเชื่อมั่นและเป็นตัวของตัวเอง ไม่เอาแต่เลียนแบบคนอื่น ช่วยให้คนอยู่อย่างมีเป้าหมาย มีแบบมีแผน ทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและใช้ข้อมูล ความรู้ วิชาการในการทำงาน เป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน
            ๓. เพื่อให้เกิด ภูมิคุ้มกันที่ดี ต้อง สร้างระบบ ทั้งระบบใหญ่ระบบย่อย ระบบที่สัมพันธ์กับวิถีของชุมชน ระบบการผลิต การบริโภค ระบบเกษตร ระบบวิสาหกิจชุมชน ระบบทุนและสวัสดิการ ระบบสิ่งแวดล้อม ระบบสุขภาพ รวมทั้งระบบการเรียนรู้ และระบบการบริหารจัดการทรัพยากร ระบบเล็กซึ่งต้องสัมพันธ์กันเป็นองคาพยพเดียวในระบบใหญ่ ที่เกื้อกูลและผนึกพลัง ก่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน
ยุทธวิธี
          ๑. สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ เพื่อทำให้อบต./เทศบาล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) เพื่อเปลี่ยนผ่านจากสังคมอุปถัมภ์ที่ใช้อำนาจและเงินเป็นหลักมาสู่สังคมความรู้ ที่ใช้ความรู้-ปัญญาเป็นฐานในการดำรงชีวิตและการจัดการองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กร (transformative organization)
            ๒. ใช้ ประชาพิจัย” (PR&D) เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ โดยให้ทุกชุมชนในอบต./เทศบาลร่วมกันทำแผนแม่บทชุมชมให้เป็นแผนเดียวในระดับตำบล/เทศบาล เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการสำรวจวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลของครอบครัว ชุมชน ตำบล ไม่ใช่แผนเพื่อขอทุน ขอโครงการ แต่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์ และสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง
            ๓. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างชุมชน ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่นำไปสู่เครือข่ายข้อมูลข่าวสาร และการทำงานร่วมกันในด้านต่างๆ ทั้งการผลิต การบริโภค การตลาด การจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สุขภาพ กองทุนและสวัสดิการ

เนื้อหาการเรียนรู้
            ๑. ระดับครอบครัว : ใช้สูตร ๓๔๕ คือ
     ๓ สาระ : เศรษฐกิจพอเพียง, ทางสู่ชีวิตที่สมดุลและมีความสุข, เกษตรกรรมยั่งยืน
    ๔ แผน : แผนชีวิต, แผนการเงิน, แผนการเกษตร (อาชีพ), แผนสุขภาพ
    ๕ ขั้นตอน : เตรียมผู้เรียน, คืนสู่ฐาน, ครอบครัวสมดุล, มั่นคงอาชีพ, ชุมชนเข้มแข็ง
๒. ระดับชุมชน : ใช้สูตร ๓๕๓ ของวนเกษตร (ผญ.วิบูลย์ เข็มเฉลิม) คือ
    ๓ รู้ : รู้ตัวเอง, รู้ปัญหา, รู้ทรัพยากร
    ๕ จัดการ : ข้าว, อาหาร, สมุนไพร, ของใช้, ปุ๋ย
    ๓ แผน : แผนชีวิต, แผนชุมชน, แผนทรัพยากร
๓. ระดับตำบล/เทศบาล : ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์
    ๑. พอประมาณ : สร้างคน (ชีวิตพอเพียง, พึ่งตนเองให้ได้หนึ่งในสี่, ปัญญา ความกล้า 
        หาญ และความเพียรทน)
    ๒. มีเหตุผล : สร้างความรู้  (ตระหนักว่าวันนี้เป็นยุคความรู้ ไม่มีความรู้อยู่ไม่ได้, รู้
        รากเหง้า, รู้จักโลก รู้ปัญหา, รู้ทุนท้องถิ่น, มีแบบมีแผน มีขั้นมีตอน)
    ๓. มีภูมิคุ้มกันที่ดี : สร้างระบบ  (ยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม และยุทธศาสตร์เฉพาะ,    
        แผนแม่บทชุมชน, วิสาหกิจชุมชน, เครือข่ายตำบล, จังหวัด, พื้นที่, ประเด็น)

บทบาทของผู้นำท้องถิ่น
          ผู้นำท้องถิ่น ๔ คนจากแต่ละอปท. เรียนรู้บทบาทของตนเอง คือ
๑. เป็นผู้จัดกระบวนการ (facilitator) เรียนรู้ที่ดี  สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ใหม่ สร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ให้คนอยากมาเรียนรู้
๒. เป็นผู้เชื่อม (catalyst) ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดนวัตกรรม
๓. เป็นผู้ประสานเครือข่าย (networker) ในพื้นที่ เครือข่ายคน เครือข่ายองค์กร เครือข่ายกับภายนอก กับองค์กรอื่น

วิธีการดำเนินงาน
            ๑. ประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้สนับสนุนโครงการนี้ และให้อบต./เทศบาลเข้าร่วมได้โดยการเบิกจ่ายค่าเดินทางและค่าที่พักจากต้นสังกัด และให้ผู้แทนของกรมฯ ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน ทั้งนี้กำหนดให้แต่ละอบต.(หรือเทศบาล) มีผู้แทน ๔ คนเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนา คือ นายกอบต., ปลัดอบต., เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนา, และผู้นำชุมชนที่อบต.คัดเลือกมา
            ๒. คัดเลือกอบต./เทศบาลจำนวน ๑๕๐ แห่งสำหรับการดำเนินงานปีแรก และอีก ๑๕๐ แห่งสำหรับปีที่สอง (ดำเนินการเหลื่อมเวลากัน คือ รุ่นที่สองเริ่มเดือนที่ ๑๐ ของปีที่หนึ่ง - ดูปฏิทินงาน)
            ๓. จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอบต./เทศบาลต้นแบบ โดยสังเคราะห์บทเรียนจากอบต./เทศบาลเข้มแข็งจำนวนหนึ่ง
            ๔. จัดการฝึกอบรมผู้บริหารและผู้นำจาก อบต./เทศบาล ในปีที่หนึ่ง ๕ รุ่นๆ ละ ๓๐ อบต. โดยมีผู้เข้าร่วมจาก อบต./เทศบาลแห่งละ ๔ คน รวมรุ่นละ ๑๒๐ คน โดยจัดให้มีการฝึกอบรมปีละ ๓ ครั้ง ครั้งแรก ๔ วัน ครั้งที่ ๒ และที่ ๓ ครั้งละ ๓ วัน เพื่อวิเคราะห์ประเมินและสรุปบทเรียนร่วมกัน และดำเนินการในลักษณะเดียวกันในปีที่ ๒ กับอีก ๑๕๐  อบต. แต่จัดการอบรมเพียง ๓ ครั้ง ขณะที่รุ่นหนึ่งมีการอบรมในปีที่สองอีก ๑ ครั้ง (ดูผังการดำเนินงาน)

การประเมินผลและสรุปบทเรียน
            ๑. ดำเนินการให้มีการติดตาม นิเทศก์ ช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิชาการให้แก่อบต./เทศบาล โดยผู้ชำนาญการจากท้องถิ่น ต่างถิ่น และจากระดับชาติ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
                การจัดการนิเทศกระทำโดยผู้ชำนาญการในเรื่องการพัฒนาท้องถิ่น การทำยุทธศาสตร์ การทำแผนแม่บทชุมชน การพัฒนาคลัสเตอร์วิสาหกิจชุมชน  การเป็นวิทยากรกระบวนการและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง  โดยสสวช. จัดการคนในพื้นที่หรือจากส่วนกลางเพื่อไปติดตามงาน และประเมินผลการดำเนินงาน รวมทั้งการสรุปบทเรียนของแต่ละพื้นที่ โดยอาศัยกรอบที่ได้พัฒนาในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ/การฝึกอบรม
            ๒. สังเคราะห์องค์ความรู้จากประสบการณ์และการดำเนินงานทุก ๓ เดือนเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเวทีกลางที่ สสส.ควรจัดให้มีทุก ๖ เดือน เพื่อนำเสนอประสบการณ์จากอปท.เหล่านี้และในโครงการอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ส่วนการสังเคราะห์ใหญ่ก็จะทำในตอนท้ายของโครงการ

อปท.เป้าหมายและเกณฑ์การคัดเลือก
          เมื่อโครงการได้รับการอนุมัติการสนับสนุนแล้ว คณะกรรมการบริหารโครงการจะจัดการสัมมนาเพื่อพัฒนาต้นแบบ และคัดเลือกตำบล/เทศบาลเป้าหมาย โดยร่วมกันพิจารณา กรอบ-เกณฑ์-ตัวชี้วัด ซึ่งมีกรอบและเกณฑ์กว้างๆ เป็นตัวนำให้ก่อนดังนี้
๑.     ตำบล/เทศบาลจำนวน ๓๐๐ แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศทั้ง ๔ ภาค โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในทุกภูมิภาคเดียวกัน
๒.     บางจังหวัดอาจมีจำนวนตำบล/เทศบาลมาก เพื่อจุดประสงค์ให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายในระดับอำเภอ-จังหวัด
            ๓.   เป็นอปท.ที่สมัครใจ มีความมุ่งมั่นและพันธะ (commitment) ในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง และยอมรับเงื่อนไขในแผนงาน และค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการเข้าร่วมการสัมมนา การฝึกอบรมของผู้แทนจากอปท.ของตนเอง
            ๔.  เป็นอปท.ในระดับ A, B, C ตามการประเมินขององค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่น, หน่วยงานของภาครัฐ, องค์กรพัฒนาเอกชน, สถาบันการศึกษา เป็นต้น) โดยมีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่รอบด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สิ่งแวดล้อม โดยให้มีสัดส่วนที่คล้ายปิระมิดในแต่ละภาค เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยต้องมีเงื่อนไขสำคัญที่สุด คือ ความปรารถนาที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง (ไม่คาดหวังว่ามาแล้วจะได้โครงการ)
            ๕. เป็นอปท.ที่มีการปรึกษาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งอาจมีโครงการพัฒนาบางอย่างอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบ หรือความซ้ำซ้อนในบางกรณี แต่ก็ไม่ได้หมายว่าต้องหลีกเลี่ยงทั้งหมด ถ้ามีความเห็นพ้องกันก็สามารถทำงานร่วมกันได้ ใช้เป็นพื้นที่เป้าหมายเดียวกันได้

ภารกิจของอปท.ที่เข้าร่วมโครงการ
            ๑. เข้าร่วมการสัมมนา-ฝึกอบรมทุกครั้ง (๓ ครั้ง) และนำภารกิจที่ได้รับมอบหมายในแต่ละครั้งกลับไปทำโดยละเอียดทุกขั้นตอน โดยมีแบบประเมินที่ต้องประเมินตัวเอง และได้รับการประเมินจากบุคคลภายนอก (นิเทศงาน) นำผลการดำเนินงานมาแบ่งปันในที่สัมมนาครั้งที่ ๒ และ ๓ กับอปท.อื่นๆ
            ๒. อปท.ต้องทำแผนแม่บทชุมชน (ใหม่) แม้ว่าเคยทำมาก่อนแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนที่ได้เรียนรู้มา เพื่อนำไปสู่การทำยุทธศาสตร์ตำบล (อีกครั้งหนึ่ง) ไม่ว่าจะเรียกกันต่อยอดหรือการทำใหม่แบบรื้อของเก่าตามบริบทของแต่ละแห่ง
            ๓. อปท.ต้องกลับไปสร้างผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อร่วมมือกันทำแผนแม่บทชุมชนและยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องลงลึกถึงระดับครอบครัว ซึ่งจะต้องร่วมปฏิบัติการ และมีแผนของแต่ละครอบครัวทั้ง ๔ แผน (แผนชีวิต, แผนการเงิน, แผนอาชีพ. แผนสุขภาพ และวิธีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถวัดได้)
            ๔. อปท.รับผิดชอบในการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะการศึกษาดูงานในพื้นที่หรือต่างพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์ และเค้าโครงเศรษฐกิจสังคมของตำบลหรือเทศบาล
            ๕. อปท. วางแผนพัฒนาระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วยเป้าหมายการพึ่งตนเอง พร้อมกับพัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดของระบบดังกล่าว โดยอิงเกณฑ์และตัวชี้วัดที่ได้พัฒนาร่วมกันในโครงการนี้ รวมทั้งขั้นตอน ยุทธวิธีการดำเนินงาน จัดระบบใหม่หรือต่อยอดที่มีอยู่แล้ว

เป็นวิทยากรในส่วนการละลายพฤติกรรมของผูเข้าร่วมการอบรม

ให้คำอธิบายและแนะนำการนำไปใช้ในชุมชน


การประชุมอาจารย์ประจำหลักศิลปศาสตรบัณฑิต


การประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
โรงแรม ที.เค พาเลซ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

คณะอาจารย์กำลังวิพากษ์หลักสูตร

ตัวแทนจาก สวทช. ร่วมทำหลักสูตร และเปิดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีเพื่อชุมชน

จดบันทึกรายละเอียดการประชุมเพื่อทำสรุปการประชุม
และร่วมเป็นอาจารย์ประหลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น



นั่งพูดคุยกันกับอาจารย์ผู้ร่วมทำหลักสูตร