วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

โครงการที่ข้าข้าพเจ้าเคยรับผิดชอบ และประสบความสำเร็จ

โครงการต้นกล้าอาชีพ
หลักสูตรการทำวิสาหกิจชุมชน

ผู้เสนอโครงการและร่วมการฝึกอบรม 
(๑) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  ๑๑๑  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 
ถ.พหลโยธิน  ต.คลองหนึ่ง  อ.คลองหลวง  จ.ปทุมธานี  ๑๒๑๒๐
(๒) มูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) ๔๖๙ ถ.นครสวรรค์ แขวงจิตรลดา  เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐๒๒๘๐๐๑๘๐ ต่อ ๓๓๑๕,๓๓๑๘ โทรสาร. ๐๒๒๘๑๘๘๑๐ E-mail : cei_thai@yahoo.com

เนื้อหาการฝึกอบรม   : – อบรมให้ปรับวิธีคิดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำแผนชีวิต แผนการเงิน แผนอาชีพ แผนสุขภาพ แล้วเรียนการทำวิสาหกิจชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชุมชน มีความมั่นคง ก่อเกิดรายได้ เช่น การทำการแปรรูปและจัดการข้าว  อาหาร สมุนไพร ของใช้ ปุ๋ย การบริหารจัดการที่ดี การจัดการทุน และการสร้างเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อวิสาหกิจชุมชน

สถานที่ฝึกอบรม   : –  ศูนย์เรียนรู้ที่กำหนดให้เป็นจุดฝึกอบรมของโครงการ คือ
(๑) ศูนย์เรียนรู้ชุมชน (ของ อปท. หรือสถานที่อื่นที่ อปท. จัดให้) หรือ
(๒) ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต

ระยะเวลาการฝึกอบรม   : –  ฝึกอบรมต่อเนื่องเป็นเวลา ๓๐ วัน ศูนย์ละ ๕๐ คน

วิทยากรผู้ทำหน้าที่ฝึกอบรม ณ ศูนย์เรียนรู้   : –  วิทยากรในชุมชนท้องถิ่น ศูนย์ละ ๒ คน ซึ่งผ่านการอบรมจาก สสวช.
โดยมีคุณสมบัติและได้รับค่าตอบแทนตามที่ สสวช. กำหนด

คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม  : –
(๑)        เป็นผู้ว่างงาน (ไม่มีรายได้ประจำ) หรือสำเร็จการศึกษา ปี ๒๕๕๑ (จบภายในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒)
(๒)     ไม่จำกัดระดับการศึกษา และไม่จำกัดเพศ
(๓)      มีอายุ ๑๘-๖๐ ปี
(๔)      มีสัญชาติไทย

ค่าตอบแทนผู้เข้ารับการฝึกอบรม   : –  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับค่าตอบแทนตลอดระยะเวลาฝึกอบรม ๓๐ วัน ดังนี้
(๑)        เบี้ยเลี้ยง วันละ ๑๖๐ บาท
(๒)     ค่าพาหนะ วันละ ๓๐ บาท

การสมัคร   : –  ยื่นใบสมัครได้วิธีเดียว โดยการกรอกข้อมูลลงในใบสมัครออนไลน์ ทางเว็บไซต์ต้นกล้า-อาชีพดอทคอม www.tonkla-archeep.com โดยไม่ต้องส่งหลักฐานเอกสารใดๆ แต่จะต้องกรอกข้อมูลที่สำคัญเฉพาะตัวของผู้สมัคร
เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน  ที่อยู่ที่ติดต่อได้ การประกอบอาชีพ และได้กู้ยืมเงินทุนเพื่อการศึกษาหรือไม่ เป็นต้น


เงื่อนไขในการเปิดฝึกอบรม   : –   ปิดการฝึกอบรมเฉพาะศูนย์เรียนรู้ที่มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมครบ ๕๐ คนเท่านั้น
ผู้ประสานงาน   : –  คุณบุนยนุช ขวัญอยู่

      ***โครงการนี้ได้ดำเนินตั้งแต่ปี 2552- 2553 จนเสร็จสิ้นแล้ว เราเปิดทั้งหมด 6 รุ่น รุ่นละ  200 ศูนย์เรียนรู้  และพบศูนย์ที่ประสบความสำเร็จอยู่มาก ทั้งการพึ่งตนเอง การทำบัญชีครัวเรือน การสร้างอาชีพ รวมทั้งการรวมตัวกันของชุมชนเพื่อสร้างกลุ่มออมทรัพย์ หรือจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ต่างๆ ขึ้นในชุมชนอีกมากมายเช่นกัน***


การจัดอบรมอาจารย์ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ในศูนย์ต้นกล้าฯ

การจัดตั้งโรงเพาะเห็ดของกลุ่มที่จังหวัดชัยนาท

           
              ผลงานของกลุ่มชุมชนอุทัยเก่า จ.อุทัยธานี
นี่ก็เป็นผลผลิตของชุมชนอุทัยเก่า จ.อุทัยธานี

การจัดไปศึกษาดูงานของศูนย์เมืองหนองคาย ไปยังศูนย์ฝึกเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ จ.พะเยา

ภาพการเรียนการสอน และอธิบายสร้างความเข้าให้กับชุมชน

การเชิญวิทยาการเฉพาะทางมาสอนการทำอาหารคาว-หวาน เพื่อสร้างอาชีพ


ภาพการทำน้ำหมักของชาวบ้านที่ศูนย์เมืองเลย

ผลสำเร็จของการทำน้ำหมัก และแจกจ่ายให้กับทุกคน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น